26. หลักสูตร การบริหารสัมพันธภาพกับซัพพลายเออร์ และการบริหารสัมพันธภาพกับคู่ค้า SRM & PRM ( Supplier Relationship Management & Partnership Relationship Management ) หลักสูตร Online และ Onsite 1 วัน ( 9.00-16.00 ) บรรยายโดย ดร.วิชัย ว่องศิลป์วัฒนา วิทยากรบรรยาย สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชน แห่งประเทศไทย Trainer และ Coach ด้านการเจรจาต่อรองประสบการณ์ในการปฏิบัติจริงกว่า 30 ปี ผู้เขียนและเรียบเรียงหนังสือ การเจรจาต่อรองได้ผล 100 % แบบชนะสามฝ่าย 50 จุดพลิกสู่ยอดผู้นำ 4.0 50 เคล็ดลับบริหารธุรกิจ CEO ระดับโลก
หลักการและเหตุผล บริษัทส่วนใหญ่ทุ่มเททรัพยากรในการสร้างสัมพันธภาพกับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูกค้ารายใหญ่ แต่กลับละเลย การสร้างสัมพันธภาพกับอีกหนึ่ง Stakeholder ที่สำคัญมากๆแต่มักถูกมองข้ามเมื่อพูดถึงเรื่องความสัมพันธภาพก็คือ ซัพพลายเออร์ ( Supplier ) เพราะจะมีผลอย่างมหาศาลในการบริหาร Supply Chain ในยุคที่ผู้เล่นในเวทีการค้าโลก จะได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างมหาศาลจากคมการแข่งขันของการบริหารซัพพลายเชน หลักสูตรนี้จึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างหัวใจแห่งความได้เปรียบทางการแข่งขันในระบบซัพพลายเชน ด้วยการติดอาวุธทางปัญญาให้กับฝ่ายจัดซื้อหรือผู้บริหารในเรื่องการบริหารสัมพันธภาพกับซัพพลายเออร์ ( Supplier Relationship Management ) นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้เรียนความรู้เพิ่มเติมวิชาคู่ขนานที่ชื่อ การบริหารสัมพันธภาพกับคู่ค้า ( Partnership Relationship Management ) เพื่อเติมเต็มในความสามารถในการบริหารสัมพันธภาพแบบรวม ( Total Relationship Management ) ในยุคของ Digital Supply Chain Management ที่เพียงคุณกระพริบตา คู่แข่งที่เคยอยู่หลังก็อาจกลับมานำหน้าคุณอย่างที่คุณคิดไม่ถึง วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1.เพื่อให้เข้าใจความสำคัญและระบบของการบริหารสัมพันธภาพ ( Relationship Management ) และการบริหารสัมพันธภาพแบบรวม ( Total Relationship Management ) 2.เพื่อให้ทราบความเกี่ยวข้องและพัฒนาการระหว่าง Total Relationship Management และ Supplier Relationship Management 3.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนกลยุทธ์และบริหารสัมพันธภาพกับซัพพลายเออร์อย่างประสบผลสำเร็จทั้งสองฝ่ายในระยะยาว 4.เพื่อให้ทราบปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทำ แผนการพัฒนาซัพพลายเออร์ ( Supplier Development Program ) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบริหารสัมพันธภาพกับซัพพลายเออร์ 5.เคล็ดลับและลูกเล่นในการปฏิบัติจริงเมื่อดำเนินตามแผนการสร้างสัมพันธภาพกับซัพพลายเออร์ 6.เพื่อสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมในกลยุทธ์การบริหารสัมพันธภาพกับคู่ค้า ( Partnership Relationship Management ) ซึ่งจะเกี่ยวข้องและต้องทำร่วมกับการบริหารสัมพันธภาพกับซัพพลายเออร์ หัวข้อการสัมมนา 1. ความรู้พื้นฐานด้าน Relationship Management และ Total Relationship Management 2. องค์ประกอบสำคัญของการสร้าง Relationship 3. องค์ประกอบของการสร้างสัมพันธภาพทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ 4. การสร้าง Supplier Development Program 5. Performance Analysis of Business Supplier 6. Major Supplier Issues Faced By the Company 7. Strategic Areas for Supplier Development Program 8. How to Implement Supplier Development Program 9. Assessment of Supplier Current Performance 10. Coaching Plan for Up skilling Suppliers 11. Training Calendar for Supplier Coaching 12. Communication Strategy & Enhancing Supplier Knowledge 13. Supplier Site Visit Plan for Manufacturing Firm Employees 14. Budget for Business Supplier Training 15. Impact of Supplier Development Program on Business 16. Key Challenges of Implementing Supplier Development Program 17. KPI Dashboard for Supplier Monitoring 18. Key Approaches for Successful Supplier Development 19. หลักการสร้าง Supplier Engagement 20. วิธีเพิ่มสัมพันธภาพกับ Supplier 21. เคล็ดลับการจัดการสัมพันธภาพกับ Supplier 22. ลักษณะของ Partnership Relationship Management ( PRM ) 23. ทำไม Partnership Relationship Management จึงสำคัญ 24. Partner Selection Segmentation and Relationship Management 25. Define PRM Process 26. Select Partner Thru Value Model 27. Tier Base Partner Segmentation 28. Performance Base Partner Classification 29. Transforming and Managing Partner Relationship with Online Community 30. Management plans to Effectively Manage the Partners 31. Partnership Relationship Management Roadmap หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ 1. พนักงานจัดซื้อและจัดจ้าง 2. หัวหน้างานหรือผู้บริหารงานจัดซื้อและจัดจ้าง 3. ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อและจัดจ้าง 4. เจ้าหน้าที่และผู้จัดการโครงการ 5. พนักงานและเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานร่วมกับคู่ค้าขนาดใหญ่และคู่ค้าเชิงกลยุทธ์ 6. ผู้บริหารที่ต้องทำงานร่วมกับคู่ค้าขนาดใหญ่และคู่ค้าเชิงกลยุทธ์ 7. ผู้บริหารระดับสูงที่ต้องทำงานกับซัพพลายเออร์หรือคู่ค้าขนาดใหญ่หรือคู่ค้าเชิงกลยุทธ์กรรมการผู้จัดการหรือเจ้าของธุรกิจ
|